ทำอย่างไรเมื่อต้องหย่าร้าง
บทความเรื่อง "แยกคู่...แต่ครอบครัวไม่สลาย"
นพ.ธรรมนาถ เจริญบุญ
Keyword: หย่า, หย่าร้าง, ทำอย่างไร, แยกคู่, ครอบครัว, แยกกัน, divorce, family, how to
นพ.ธรรมนาถ เจริญบุญ
Keyword: หย่า, หย่าร้าง, ทำอย่างไร, แยกคู่, ครอบครัว, แยกกัน, divorce, family, how to
นิยสาร Health Today
Credit: http://www.healthtoday.net/thailand/mental/mental_109.html
“They will have an ex-husband or ex-wife,
but children do not have ex-mother or ex-father”
การหย่าร้างนั้นเป็นวิกฤติอันรุนแรงอย่างหนึ่งในชีวิต
ปัจจุบันแนวโน้มการหย่าร้างมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสหรัฐอเมริกา มากกว่า
50% ของการแต่งงานสิ้นสุดลงด้วยการหย่าร้าง
ประเทศไทยเองอัตราการหย่าร้างก็สูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ในปี พ.ศ.2550
มีการจดทะเบียนสมรส 307,910 คู่ แต่มีการหย่าร้าง 100,420 คู่
หรือคิดเป็นกว่า 33%
โดยที่ตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมคู่สมรสที่แยกกันอยู่โดยยังไม่ได้หย่าขาดกันทาง
กฎหมายที่คาดว่าน่าจะมีอีกเป็นจำนวนมาก
การหย่าร้างนั้นควรจะเป็นหนทางเลือกสุดท้ายจริงๆ ของชีวิตครอบครัว หลังจากที่ทั้งสองคนพยายามร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเต็มที่ แล้ว ใช้เหตุใช้ผลและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ควรจะเกิดจากเพียงอารมณ์ชั่ววูบ โกรธ ประชด น้อยใจ เสียใจ หรือท้าทายกัน อย่างเช่นที่มักได้ยินบ่อยๆ เวลาคู่สามีภรรยาทะเลาะกันว่า “แน่จริงไปหย่ากันเลยไหม”
แต่หากว่าสุดท้ายต้องหย่าร้างกันไปจริงๆ การหย่าร้างก็อาจจะไม่ได้มีแต่ข้อเสียเพียงอย่างเดียว จากการศึกษาพบว่า ในครอบครัวที่มีความขัดแย้งกันอย่างมาก มีการทะเลาะเบาะแว้งกันของพ่อแม่เป็นประจำ จะทำให้เด็กมีความเครียดอย่างรุนแรง และปรับตัวได้ยากกว่าพ่อแม่ที่แยกทางกัน ตรงกันข้ามเมื่อครอบครัวกลุ่มนี้หย่าร้างกันไปแล้วความขัดแย้งสิ้นสุดลง พบว่าเด็กมักจะดีขึ้นและปรับตัวได้มากขึ้น
การหย่าร้างนั้นควรจะเป็นหนทางเลือกสุดท้ายจริงๆ ของชีวิตครอบครัว หลังจากที่ทั้งสองคนพยายามร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเต็มที่ แล้ว ใช้เหตุใช้ผลและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ควรจะเกิดจากเพียงอารมณ์ชั่ววูบ โกรธ ประชด น้อยใจ เสียใจ หรือท้าทายกัน อย่างเช่นที่มักได้ยินบ่อยๆ เวลาคู่สามีภรรยาทะเลาะกันว่า “แน่จริงไปหย่ากันเลยไหม”
แต่หากว่าสุดท้ายต้องหย่าร้างกันไปจริงๆ การหย่าร้างก็อาจจะไม่ได้มีแต่ข้อเสียเพียงอย่างเดียว จากการศึกษาพบว่า ในครอบครัวที่มีความขัดแย้งกันอย่างมาก มีการทะเลาะเบาะแว้งกันของพ่อแม่เป็นประจำ จะทำให้เด็กมีความเครียดอย่างรุนแรง และปรับตัวได้ยากกว่าพ่อแม่ที่แยกทางกัน ตรงกันข้ามเมื่อครอบครัวกลุ่มนี้หย่าร้างกันไปแล้วความขัดแย้งสิ้นสุดลง พบว่าเด็กมักจะดีขึ้นและปรับตัวได้มากขึ้น
แยกกันอย่างไร... หัวใจลูกไม่สลาย
สิ่งที่ไม่ควรทำคือ ไม่ควรดึงลูกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งของตัวเอง ที่พบบ่อยๆ คือ
1. การด่าว่าอีกฝ่ายให้ลูกฟัง พบได้บ่อยในพ่อหรือแม่ที่เจ็บปวดหรือโกรธการกระทำของอีกฝ่าย แล้วระบายความคับข้องใจต่างๆ ให้เด็กฟัง โดยเล่าให้ลูกฟังถึงความไม่ดีของอีกฝ่าย เล่าถึงการนอกใจของพ่อ ความไม่เอาไหนของแม่เหล่านี้เป็นต้น
“แม่บอกผมว่า พ่อไม่รักผมหรอก เพราะพ่อมีเงินเท่าไรก็เอาไปให้นังนั่นหมด” ... เด็กชายคนหนึ่งพูด
2. การดึงลูกให้เข้ามาเป็นพวกเป็นฝ่ายของตน
อยากให้ลูกอยู่กับตัวเองมากกว่าอีกฝ่าย ไม่อยากให้คุยกับอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบางครั้งถึงกับไม่พอใจที่ลูกไปคุยด้วย ยกตัวอย่างเช่นแม่คนหนึ่งบอกลูกว่า “ถ้าลูกไปคุยกับพ่อ แปลว่าลูกไม่รักแม่”
3. ทำให้ลูกกลายเป็นตัวกลางระหว่างพ่อแม่ คือพ่อแม่ไม่พูดกันเพราะทะเลาะกันอยู่ เมื่อจะบอกอะไรอีกฝ่ายก็บอกผ่านลูกให้ลูกไปบอกอีกที เช่น พ่อบอกให้ลูกไปบอกแม่ว่า “เสาร์อาทิตย์นี้จะไม่อยู่นะ” พอลูกไปบอกแม่ แม่ก็บอกให้ลูกไปบอกพ่อว่า “เออ จะไปตายที่ไหนก็ไป” เป็นต้น
4. ไม่ควรบังคับให้เด็กเลือกว่าจะอยู่กับใคร
“ผมทำให้เกิดสงครามในบ้าน เพราะผมบอกแม่ว่าผมอยากอยู่กับพ่อ” ... เด็กชายคนหนึ่งพูด
ภาพที่ไม่ควรมีเลยคือ การเอาเด็กมายืนตรงกลางระหว่างพ่อแม่ แล้วถามว่า “ลูกตอบสิ ลูกจะอยู่กับใคร” ซึ่งไม่ว่าจะตอบหรือเลือกใครก็ไม่ดีทั้งนั้นสำหรับเด็ก เพราะเด็กเองก็มักจะรู้เหมือนกันว่าฝ่ายที่เขาไม่ได้เลือกย่อมโกรธ ไม่พอใจ เด็กจะรู้สึกผิดอย่างมาก บางคนก็กลัวว่าพ่อหรือแม่ที่เขาไม่ได้เลือกจะเลิกรักเขา
หากต้องการรู้ว่าเด็กอยากอยู่กับใครมากกว่าอาจจะใช้วิธีการอ้อมๆ เช่น ให้ญาติที่สนิทกับเด็กถามเด็กว่า ชอบอยู่กับใครมากกว่ากัน หรือให้ถามแบบสมมติว่าถ้าพ่อแม่ต้องแยกกันอยู่ อยากอยู่กับใครมากกว่า เป็นต้น
สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะสร้างความเครียดและทำให้เกิดความขัดแย้งในใจอย่างมาก เพราะสำหรับเด็กแล้ว ไม่ว่าอย่างไรพ่อแม่ย่อมเป็นคนสำคัญของเขาเสมอ (แม้จะดูไม่ดีในสายตาของคู่สามีภรรยาก็ตาม) การที่แม่ด่าพ่อให้เด็กฟัง เด็กจะอึดอัดและทำตัวไม่ถูก หากไม่เห็นด้วยกับแม่ก็เท่ากับทรยศแม่และแม่อาจไม่รัก แต่ถ้าเห็นด้วย ก็เหมือนกับตัวเองยอมรับและมีส่วนว่าพ่อเลวไปด้วย
เราคงไม่อยากให้เด็กคนหนึ่งโตมาด้วยบาดแผลในใจที่เกลียดพ่อหรือแม่ตัวเอง หรือรู้สึกว่ามีพ่อหรือแม่ก็เหมือนไม่มี เพราะเชื่อว่าลึกๆ ในใจของทุกคนนั้นก็ย่อมรักพ่อและแม่ของตัวเองทั้งนั้น การสร้างความรู้สึกเกลียดชังอีกฝ่ายขึ้นในใจของเด็กนั้นอาจจะนำมาซึ่งความ ทุกข์ทรมานในใจของเด็กไปตลอดชีวิต
สำหรับพ่อหรือแม่แล้ว หากบางครั้งมีความโกรธ ความอึดอัดคับข้องใจ ควรจะระบายกับเพื่อนสนิท หรือญาติจะเหมาะสมกว่า และยอมรับว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตามในส่วนลึกเด็กส่วนมากยังรักและโหยหาพ่อหรือ แม่ของเขาอยู่เสมอ ดังนั้นไม่ควรห้ามไม่ให้ลูกพูดถึงพ่อหรือแม่ที่ห่างออกไป หรือแสดงความไม่พอใจในการที่เขาจะไปไหนด้วยกันบ้าง
สิ่งที่พ่อและแม่ควรตระหนักก็คือ ปัญหา หย่าร้างเป็นปัญหาของคนสองคน คนที่จะหย่าร้างกันคือสามี ภรรยา ไม่ได้แปลว่าลูกจะต้องหย่าร้างกับพ่อหรือแม่ ชีวิตคู่อาจจะมีอดีตสามีหรืออดีตภรรยาได้ แต่สำหรับเด็กแล้วจะไม่มีอดีตพ่อหรืออดีตแม่ คนเรารักกันได้ ก็มีเลิกกันได้ อาจมีคนรักใหม่ได้ แต่เด็กจะไม่เลิกกับพ่อแม่แล้วไปมีพ่อแม่ใหม่
สิ่งที่ไม่ควรทำคือ ไม่ควรดึงลูกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งของตัวเอง ที่พบบ่อยๆ คือ
1. การด่าว่าอีกฝ่ายให้ลูกฟัง พบได้บ่อยในพ่อหรือแม่ที่เจ็บปวดหรือโกรธการกระทำของอีกฝ่าย แล้วระบายความคับข้องใจต่างๆ ให้เด็กฟัง โดยเล่าให้ลูกฟังถึงความไม่ดีของอีกฝ่าย เล่าถึงการนอกใจของพ่อ ความไม่เอาไหนของแม่เหล่านี้เป็นต้น
“แม่บอกผมว่า พ่อไม่รักผมหรอก เพราะพ่อมีเงินเท่าไรก็เอาไปให้นังนั่นหมด” ... เด็กชายคนหนึ่งพูด
2. การดึงลูกให้เข้ามาเป็นพวกเป็นฝ่ายของตน
อยากให้ลูกอยู่กับตัวเองมากกว่าอีกฝ่าย ไม่อยากให้คุยกับอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบางครั้งถึงกับไม่พอใจที่ลูกไปคุยด้วย ยกตัวอย่างเช่นแม่คนหนึ่งบอกลูกว่า “ถ้าลูกไปคุยกับพ่อ แปลว่าลูกไม่รักแม่”
3. ทำให้ลูกกลายเป็นตัวกลางระหว่างพ่อแม่ คือพ่อแม่ไม่พูดกันเพราะทะเลาะกันอยู่ เมื่อจะบอกอะไรอีกฝ่ายก็บอกผ่านลูกให้ลูกไปบอกอีกที เช่น พ่อบอกให้ลูกไปบอกแม่ว่า “เสาร์อาทิตย์นี้จะไม่อยู่นะ” พอลูกไปบอกแม่ แม่ก็บอกให้ลูกไปบอกพ่อว่า “เออ จะไปตายที่ไหนก็ไป” เป็นต้น
4. ไม่ควรบังคับให้เด็กเลือกว่าจะอยู่กับใคร
“ผมทำให้เกิดสงครามในบ้าน เพราะผมบอกแม่ว่าผมอยากอยู่กับพ่อ” ... เด็กชายคนหนึ่งพูด
ภาพที่ไม่ควรมีเลยคือ การเอาเด็กมายืนตรงกลางระหว่างพ่อแม่ แล้วถามว่า “ลูกตอบสิ ลูกจะอยู่กับใคร” ซึ่งไม่ว่าจะตอบหรือเลือกใครก็ไม่ดีทั้งนั้นสำหรับเด็ก เพราะเด็กเองก็มักจะรู้เหมือนกันว่าฝ่ายที่เขาไม่ได้เลือกย่อมโกรธ ไม่พอใจ เด็กจะรู้สึกผิดอย่างมาก บางคนก็กลัวว่าพ่อหรือแม่ที่เขาไม่ได้เลือกจะเลิกรักเขา
หากต้องการรู้ว่าเด็กอยากอยู่กับใครมากกว่าอาจจะใช้วิธีการอ้อมๆ เช่น ให้ญาติที่สนิทกับเด็กถามเด็กว่า ชอบอยู่กับใครมากกว่ากัน หรือให้ถามแบบสมมติว่าถ้าพ่อแม่ต้องแยกกันอยู่ อยากอยู่กับใครมากกว่า เป็นต้น
สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะสร้างความเครียดและทำให้เกิดความขัดแย้งในใจอย่างมาก เพราะสำหรับเด็กแล้ว ไม่ว่าอย่างไรพ่อแม่ย่อมเป็นคนสำคัญของเขาเสมอ (แม้จะดูไม่ดีในสายตาของคู่สามีภรรยาก็ตาม) การที่แม่ด่าพ่อให้เด็กฟัง เด็กจะอึดอัดและทำตัวไม่ถูก หากไม่เห็นด้วยกับแม่ก็เท่ากับทรยศแม่และแม่อาจไม่รัก แต่ถ้าเห็นด้วย ก็เหมือนกับตัวเองยอมรับและมีส่วนว่าพ่อเลวไปด้วย
เราคงไม่อยากให้เด็กคนหนึ่งโตมาด้วยบาดแผลในใจที่เกลียดพ่อหรือแม่ตัวเอง หรือรู้สึกว่ามีพ่อหรือแม่ก็เหมือนไม่มี เพราะเชื่อว่าลึกๆ ในใจของทุกคนนั้นก็ย่อมรักพ่อและแม่ของตัวเองทั้งนั้น การสร้างความรู้สึกเกลียดชังอีกฝ่ายขึ้นในใจของเด็กนั้นอาจจะนำมาซึ่งความ ทุกข์ทรมานในใจของเด็กไปตลอดชีวิต
สำหรับพ่อหรือแม่แล้ว หากบางครั้งมีความโกรธ ความอึดอัดคับข้องใจ ควรจะระบายกับเพื่อนสนิท หรือญาติจะเหมาะสมกว่า และยอมรับว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตามในส่วนลึกเด็กส่วนมากยังรักและโหยหาพ่อหรือ แม่ของเขาอยู่เสมอ ดังนั้นไม่ควรห้ามไม่ให้ลูกพูดถึงพ่อหรือแม่ที่ห่างออกไป หรือแสดงความไม่พอใจในการที่เขาจะไปไหนด้วยกันบ้าง
สิ่งที่พ่อและแม่ควรตระหนักก็คือ ปัญหา หย่าร้างเป็นปัญหาของคนสองคน คนที่จะหย่าร้างกันคือสามี ภรรยา ไม่ได้แปลว่าลูกจะต้องหย่าร้างกับพ่อหรือแม่ ชีวิตคู่อาจจะมีอดีตสามีหรืออดีตภรรยาได้ แต่สำหรับเด็กแล้วจะไม่มีอดีตพ่อหรืออดีตแม่ คนเรารักกันได้ ก็มีเลิกกันได้ อาจมีคนรักใหม่ได้ แต่เด็กจะไม่เลิกกับพ่อแม่แล้วไปมีพ่อแม่ใหม่
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับลูก
พ่อแม่หลายคนคิดว่าไม่จำเป็นต้องบอกเด็กเลยเกี่ยวกับเรื่องหย่าร้าง เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเด็ก หรือบางคนก็กลัวว่าจะทำให้ลูกเสียใจ จึงใช้วิธีไม่บอกแล้วแยกทางกันไปเลยจะดีกว่า ซึ่งความคิดเหล่านี้ไม่ถูกต้อง เพราะเด็กส่วนใหญ่พอจะเข้าใจอะไรได้บ้าง การที่อยู่ๆ พ่อหรือแม่หายไป จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง และทำให้มีปัญหาในการปรับตัวได้มากกว่า
1. สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องให้ความมั่นใจกับเด็กว่า การที่พ่อแม่แยกกันไม่ได้มีสาเหตุจากลูก ใน เด็กที่ยังอายุไม่มากบางครั้งเด็กจะเข้าใจว่าตัวเองเป็นสาเหตุที่ทำให้พ่อ แม่แยกทางกัน เช่น ทำตัวไม่ดี ได้คะแนนน้อย หรือเพราะตัวเองดื้อเมื่อครั้งก่อน ดังนั้นต้องย้ำในประเด็นนี้ว่า เด็กไม่ได้ทำอะไรผิด และไม่มีส่วนในการหย่าร้างของพ่อแม่ และทำให้เด็กได้รู้ว่า ถึงแม้พ่อแม่จะไม่ได้อยู่ด้วยกัน แต่ไม่ได้แปลว่าพ่อหรือแม่ไม่รัก
2. การบอกเด็กทั้งพ่อและแม่ควรร่วมกันพูดคุยเรื่องหย่าร้างกับลูก จะทำให้เด็กปรับตัวได้ดีกว่าในระยะยาว เป้าหมายคือให้ข้อมูลที่เด็กควรต้องรู้ ให้ความมั่นใจเกี่ยวกับอนาคตและเปิดโอกาสให้เด็กได้ถามในสิ่งที่อยากจะรู้
เด็กอาจจะอยากรู้ว่าเพราะอะไรพ่อและแม่ถึงหย่ากัน พ่อแม่ควรตอบโดยกว้างๆ ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดมากจนกลายเป็นการด่าว่าอีกฝ่ายหนึ่ง อธิบายว่าการหย่าร้างนั้นเป็นการตัดสินใจร่วมกันอย่างมีเหตุผล เป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ความสัมพันธ์ของเด็กกับพ่อและแม่นั้นจะยังคงดำเนินต่อไป พ่อและแม่ก็ยังคงเป็นพ่อและแม่ของลูกอย่างเดิม
3. พยายามรักษาสภาพความเป็นอยู่ให้ใกล้เคียงชีวิตเดิมของลูกที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ไม่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าเมื่อพ่อหรือแม่แยกไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง สิ่งนี้ยิ่งจะทำให้เด็กปรับตัวได้ยากขึ้น ดังนั้นหากเด็กยังสามารถเรียนที่โรงเรียนเดิม เจอเพื่อน เจอครูคนเดิม หรือยังได้ดูหนังทุกวันอาทิตย์เหมือนเดิมที่ผ่านมา ก็จะช่วยให้เด็กไม่เครียดมากจนปรับตัวไม่ได้
4. ปฏิบัติต่อเด็กด้วยความรักความอบอุ่นเหมือนเดิมที่ผ่านมา ไม่ว่าลูกจะอยู่กับใครก็ตาม แรกๆ เด็กอาจจะมีปฏิกิริยาแปลกๆ หรือแสดงความไม่พอใจอยู่บ้าง แต่ถ้าพ่อแม่เข้าใจ นิ่ง และปฏิบัติต่อเขาเหมือนเดิม เด็กก็จะค่อยๆ เข้าใจและรู้ได้ว่าเขายังเป็นที่รักเหมือนเดิม
พ่อแม่หลายคนคิดว่าไม่จำเป็นต้องบอกเด็กเลยเกี่ยวกับเรื่องหย่าร้าง เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเด็ก หรือบางคนก็กลัวว่าจะทำให้ลูกเสียใจ จึงใช้วิธีไม่บอกแล้วแยกทางกันไปเลยจะดีกว่า ซึ่งความคิดเหล่านี้ไม่ถูกต้อง เพราะเด็กส่วนใหญ่พอจะเข้าใจอะไรได้บ้าง การที่อยู่ๆ พ่อหรือแม่หายไป จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง และทำให้มีปัญหาในการปรับตัวได้มากกว่า
1. สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องให้ความมั่นใจกับเด็กว่า การที่พ่อแม่แยกกันไม่ได้มีสาเหตุจากลูก ใน เด็กที่ยังอายุไม่มากบางครั้งเด็กจะเข้าใจว่าตัวเองเป็นสาเหตุที่ทำให้พ่อ แม่แยกทางกัน เช่น ทำตัวไม่ดี ได้คะแนนน้อย หรือเพราะตัวเองดื้อเมื่อครั้งก่อน ดังนั้นต้องย้ำในประเด็นนี้ว่า เด็กไม่ได้ทำอะไรผิด และไม่มีส่วนในการหย่าร้างของพ่อแม่ และทำให้เด็กได้รู้ว่า ถึงแม้พ่อแม่จะไม่ได้อยู่ด้วยกัน แต่ไม่ได้แปลว่าพ่อหรือแม่ไม่รัก
2. การบอกเด็กทั้งพ่อและแม่ควรร่วมกันพูดคุยเรื่องหย่าร้างกับลูก จะทำให้เด็กปรับตัวได้ดีกว่าในระยะยาว เป้าหมายคือให้ข้อมูลที่เด็กควรต้องรู้ ให้ความมั่นใจเกี่ยวกับอนาคตและเปิดโอกาสให้เด็กได้ถามในสิ่งที่อยากจะรู้
เด็กอาจจะอยากรู้ว่าเพราะอะไรพ่อและแม่ถึงหย่ากัน พ่อแม่ควรตอบโดยกว้างๆ ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดมากจนกลายเป็นการด่าว่าอีกฝ่ายหนึ่ง อธิบายว่าการหย่าร้างนั้นเป็นการตัดสินใจร่วมกันอย่างมีเหตุผล เป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ความสัมพันธ์ของเด็กกับพ่อและแม่นั้นจะยังคงดำเนินต่อไป พ่อและแม่ก็ยังคงเป็นพ่อและแม่ของลูกอย่างเดิม
3. พยายามรักษาสภาพความเป็นอยู่ให้ใกล้เคียงชีวิตเดิมของลูกที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ไม่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าเมื่อพ่อหรือแม่แยกไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง สิ่งนี้ยิ่งจะทำให้เด็กปรับตัวได้ยากขึ้น ดังนั้นหากเด็กยังสามารถเรียนที่โรงเรียนเดิม เจอเพื่อน เจอครูคนเดิม หรือยังได้ดูหนังทุกวันอาทิตย์เหมือนเดิมที่ผ่านมา ก็จะช่วยให้เด็กไม่เครียดมากจนปรับตัวไม่ได้
4. ปฏิบัติต่อเด็กด้วยความรักความอบอุ่นเหมือนเดิมที่ผ่านมา ไม่ว่าลูกจะอยู่กับใครก็ตาม แรกๆ เด็กอาจจะมีปฏิกิริยาแปลกๆ หรือแสดงความไม่พอใจอยู่บ้าง แต่ถ้าพ่อแม่เข้าใจ นิ่ง และปฏิบัติต่อเขาเหมือนเดิม เด็กก็จะค่อยๆ เข้าใจและรู้ได้ว่าเขายังเป็นที่รักเหมือนเดิม
สิ่งที่ต้องเตรียมตัวสำหรับพ่อหรือแม่
1. เตรียมตัวสำหรับเรื่องเงินทอง โดยปัญหามักจะเกิดเมื่อก่อนที่จะหย่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะฝ่ายหญิง ที่มักไม่ได้ทำงาน ทำให้มีปัญหาในการหาเลี้ยงตัวเองและลูก สิ่งที่ควรทำคือการตกลงกันตามกฎหมาย คือจะมีการให้ค่าเลี้ยงดูเท่าไร แต่ในขณะเดียวกันก็ควรคิดเผื่อหาทางช่วยเหลือตัวเองไปด้วย ในกรณีที่ลูกเข้าโรงเรียนไปแล้ว อาจคิดหางานพิเศษหรืองานประจำทำไปด้วย ต้องเน้นว่าปัญหาเรื่องการเงินนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากอันหนึ่ง ต้องวางแผนให้ดี แรกๆ อาจจะติดต่อขอคำปรึกษาจากญาติๆ หรือเพื่อนฝูงไปด้วย
2. มั่นใจว่าไม่มีเขาหรือเธอเราก็อยู่ได้ เมื่อหย่าร้างกันใหม่ๆ คนส่วนใหญ่จะรู้สึกคล้ายๆ กันคือ เหมือนว่าอะไรบางอย่างมันหายไปจากชีวิต หลายคนขาดความมั่นใจ ไม่แน่ใจว่าเราจะสามารถใช้ชีวิตใหม่ลำพังได้ บางครั้งความรู้สึกเหล่านี้ทำให้ไม่กล้าทำอะไร ไม่กล้าหางาน ไม่กล้าเริ่มชีวิตใหม่ เลี้ยงลูกก็ไม่มั่นใจ ดังนั้นอย่าลืมดูแลจิตใจตัวเองให้ดี เพื่อที่จะสามารถเป็นเสาหลักให้กับทั้งตัวเองและลูกได้
3. ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ยอมรับว่าการหย่าร้างกำลังจะเกิดหรือเกิดแล้ว เพื่อให้ไม่ต้องเก็บมาคิด มาทำให้ใจหมกมุ่น ระลึกถึงอดีต หรือติดค้างแต่ความคาดหวังในตัวของอดีตสามีหรือภรรยา เพื่อชีวิตจะได้อยู่กับปัจจุบันและพร้อมจะเดินต่อไปข้างหน้า
4. ภายหลังการหย่าร้างใหม่ๆ บางคนอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่ดี ตัวเองไร้ค่า ถูกทิ้ง รู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่รักของใครๆ ความรู้สึกเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นได้ หากเกิดขึ้นให้พยายามเข้าใจว่า แท้จริงแล้วการหย่าร้างนั้นไม่ได้แปลว่าเราไม่ดี เราไร้ค่า ไม่ใช่สิ่งที่ตัดสินคุณค่าของเรา การหย่าร้างนั้นเป็นเพียงการบอกว่า เราสองคนเข้ากันไม่ได้ อยู่แล้วมีปัญหา ไม่มีความสุข การยุติการอยู่ด้วยกันนั้นจะช่วยให้ทั้งสองคนยุติปัญหา และสามารถมีความสุขได้มากขึ้น
5. ปรับเครือข่ายทางสังคมใหม่ เมื่อเกิดการหย่าร้างสภาพสังคมนั้นย่อมเปลี่ยน จากอยู่กันหลายคน เลิกงานก็กลับบ้านอยู่กับครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ หลังหย่าบางคนอาจต้องอยู่คนเดียว บางคนอาจได้อยู่กับลูก ในคนที่อยู่คนเดียวนั้นย่อมรู้สึกแปลกๆ เหงาๆ โหวงเหวงเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ชิน ดังนั้นอาจจะต้องปรับสังคมใหม่ ควรไปพบปะเพื่อนฝูงหรือญาติๆ ให้มากขึ้น ไปเที่ยวบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราตระหนักได้ว่า ถึงแม้ไม่มีเขาหรือเธอ แต่เราก็ยังมีคนอื่น
6. ควรหากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เพื่อลดความรู้สึกเศร้า เหงา เปล่าเปลี่ยว เช่น ไปเรียนหนังสือ เรียนภาษา เล่นเกม เข้าชมรม เล่นกีฬา อ่านหนังสือ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะได้ไม่ว่างเกินไปแล้ว ยังอาจได้ความรู้ความสามารถมากขึ้น ได้เจอเพื่อนเจอคนใหม่ๆ มากขึ้นไปด้วย
7. จัดการกับอดีตสามีหรือภรรยาอย่างเหมาะสม นั่นคือแยกกันอย่างสงบ คงความสัมพันธ์ที่ดีในฐานะพ่อของลูกและแม่ของลูก ซึ่งไม่ได้แปลว่าคุณกับเขาต้องสนิทสนมกันเหมือนก่อน แต่ร่วมมือกันเพื่อเลี้ยงลูกให้ได้ดีตามสมควร การหย่าร้างนั้นไม่ใช่สงคราม เราไม่จำเป็นต้องทำลายล้างอีกฝ่ายจนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง ซึ่งมีแต่จะยิ่งนำความไม่สงบในใจให้คงอยู่ไปเรื่อย ๆ
8. อย่ารีบหาใครมาทดแทนคนรักเดิม หลังจากที่แยกกันใหม่ๆ ยามเหงา เศร้า อารมณ์ไม่ปกติ บางครั้งจะทำให้เราตัดสินใจได้ไม่ดี ทำให้บางครั้งเลือกคนที่ไม่ค่อยเหมาะสม ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้แทนที่จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น กลายเป็นไปเอามาทำให้เกิดแผลในใจเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
1. เตรียมตัวสำหรับเรื่องเงินทอง โดยปัญหามักจะเกิดเมื่อก่อนที่จะหย่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะฝ่ายหญิง ที่มักไม่ได้ทำงาน ทำให้มีปัญหาในการหาเลี้ยงตัวเองและลูก สิ่งที่ควรทำคือการตกลงกันตามกฎหมาย คือจะมีการให้ค่าเลี้ยงดูเท่าไร แต่ในขณะเดียวกันก็ควรคิดเผื่อหาทางช่วยเหลือตัวเองไปด้วย ในกรณีที่ลูกเข้าโรงเรียนไปแล้ว อาจคิดหางานพิเศษหรืองานประจำทำไปด้วย ต้องเน้นว่าปัญหาเรื่องการเงินนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากอันหนึ่ง ต้องวางแผนให้ดี แรกๆ อาจจะติดต่อขอคำปรึกษาจากญาติๆ หรือเพื่อนฝูงไปด้วย
2. มั่นใจว่าไม่มีเขาหรือเธอเราก็อยู่ได้ เมื่อหย่าร้างกันใหม่ๆ คนส่วนใหญ่จะรู้สึกคล้ายๆ กันคือ เหมือนว่าอะไรบางอย่างมันหายไปจากชีวิต หลายคนขาดความมั่นใจ ไม่แน่ใจว่าเราจะสามารถใช้ชีวิตใหม่ลำพังได้ บางครั้งความรู้สึกเหล่านี้ทำให้ไม่กล้าทำอะไร ไม่กล้าหางาน ไม่กล้าเริ่มชีวิตใหม่ เลี้ยงลูกก็ไม่มั่นใจ ดังนั้นอย่าลืมดูแลจิตใจตัวเองให้ดี เพื่อที่จะสามารถเป็นเสาหลักให้กับทั้งตัวเองและลูกได้
3. ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ยอมรับว่าการหย่าร้างกำลังจะเกิดหรือเกิดแล้ว เพื่อให้ไม่ต้องเก็บมาคิด มาทำให้ใจหมกมุ่น ระลึกถึงอดีต หรือติดค้างแต่ความคาดหวังในตัวของอดีตสามีหรือภรรยา เพื่อชีวิตจะได้อยู่กับปัจจุบันและพร้อมจะเดินต่อไปข้างหน้า
4. ภายหลังการหย่าร้างใหม่ๆ บางคนอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่ดี ตัวเองไร้ค่า ถูกทิ้ง รู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่รักของใครๆ ความรู้สึกเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นได้ หากเกิดขึ้นให้พยายามเข้าใจว่า แท้จริงแล้วการหย่าร้างนั้นไม่ได้แปลว่าเราไม่ดี เราไร้ค่า ไม่ใช่สิ่งที่ตัดสินคุณค่าของเรา การหย่าร้างนั้นเป็นเพียงการบอกว่า เราสองคนเข้ากันไม่ได้ อยู่แล้วมีปัญหา ไม่มีความสุข การยุติการอยู่ด้วยกันนั้นจะช่วยให้ทั้งสองคนยุติปัญหา และสามารถมีความสุขได้มากขึ้น
5. ปรับเครือข่ายทางสังคมใหม่ เมื่อเกิดการหย่าร้างสภาพสังคมนั้นย่อมเปลี่ยน จากอยู่กันหลายคน เลิกงานก็กลับบ้านอยู่กับครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ หลังหย่าบางคนอาจต้องอยู่คนเดียว บางคนอาจได้อยู่กับลูก ในคนที่อยู่คนเดียวนั้นย่อมรู้สึกแปลกๆ เหงาๆ โหวงเหวงเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ชิน ดังนั้นอาจจะต้องปรับสังคมใหม่ ควรไปพบปะเพื่อนฝูงหรือญาติๆ ให้มากขึ้น ไปเที่ยวบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราตระหนักได้ว่า ถึงแม้ไม่มีเขาหรือเธอ แต่เราก็ยังมีคนอื่น
6. ควรหากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เพื่อลดความรู้สึกเศร้า เหงา เปล่าเปลี่ยว เช่น ไปเรียนหนังสือ เรียนภาษา เล่นเกม เข้าชมรม เล่นกีฬา อ่านหนังสือ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะได้ไม่ว่างเกินไปแล้ว ยังอาจได้ความรู้ความสามารถมากขึ้น ได้เจอเพื่อนเจอคนใหม่ๆ มากขึ้นไปด้วย
7. จัดการกับอดีตสามีหรือภรรยาอย่างเหมาะสม นั่นคือแยกกันอย่างสงบ คงความสัมพันธ์ที่ดีในฐานะพ่อของลูกและแม่ของลูก ซึ่งไม่ได้แปลว่าคุณกับเขาต้องสนิทสนมกันเหมือนก่อน แต่ร่วมมือกันเพื่อเลี้ยงลูกให้ได้ดีตามสมควร การหย่าร้างนั้นไม่ใช่สงคราม เราไม่จำเป็นต้องทำลายล้างอีกฝ่ายจนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง ซึ่งมีแต่จะยิ่งนำความไม่สงบในใจให้คงอยู่ไปเรื่อย ๆ
8. อย่ารีบหาใครมาทดแทนคนรักเดิม หลังจากที่แยกกันใหม่ๆ ยามเหงา เศร้า อารมณ์ไม่ปกติ บางครั้งจะทำให้เราตัดสินใจได้ไม่ดี ทำให้บางครั้งเลือกคนที่ไม่ค่อยเหมาะสม ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้แทนที่จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น กลายเป็นไปเอามาทำให้เกิดแผลในใจเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
สุดท้าย ความตึงเครียดที่เกิดจากการหย่าร้างพบได้ในทุกๆ ครอบครัว และมักก่อให้เกิดความยากลำบากสำหรับเด็กทุกคน สิ่ง
สำคัญที่พ่อและแม่ควรจะต้องพิจารณาก่อนการหย่าร้างคือ
ทำอย่างไรจึงจะทำให้เด็กมีบาดแผลในใจน้อยที่สุด
มีการปรับตัวและพัฒนาการเป็นไปอย่างเหมาะสม
ทำให้เขาสามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามวัย
อย่างเท่าที่เด็กคนหนึ่งพึงจะมี อย่าให้ถึงกับว่า หย่าแล้ว
หัวใจ(ลูก)แตกสลาย ครอบครัวพังพินาศเลย
No comments:
Post a Comment