ระวังป่วยทางใจ หลังเกิดภัยร้าย
นพ.ธรรมนาถ เจริญบุญ จิตแพทย์
ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่า ในปี พ.ศ.2554 มีผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจากการจราจรทางบกมากถึง 9,060 คน บาดเจ็บสาหัส 4,047 คน และบาดเจ็บเล็กน้อยอีกกว่า 17,123 คน ส่วนศูนย์พึ่งได้ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในปี พ.ศ. 2553 มีผู้หญิงถูกทำร้ายและเข้ารักษาตัวทั้งสิ้น 12,554 คน (หรือเฉลี่ยวันละ 35 คน) ข้อมูลจากแค่สองหน่วยงานก็ชี้ให้เห็นว่า อุบัติเหตุและเหตุการณ์รุนแรงเป็นเรื่องใกล้ตัวเราอย่างมาก ที่สำคัญนอกจากอาการบาดเจ็บทางร่างกายแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังได้รับบาดเจ็บทางด้านจิตใจที่เรียกว่า post traumatic stress disorder (PTSD) ที่ควรได้รับการเยียวยาด้วย
PTSD เป็นความผิดปกติทางด้านจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ประสบเหตุการณ์รุนแรง เช่น รถชน ถูกทำร้ายร่างกาย ข่มขืน สงคราม จลาจล หรือภัยธรรมชาติต่างๆ (ลองนึกดูเล่นๆ ครับว่า ถ้าเอาสถิติของทุกอย่างที่กล่าวมารวมกันจะมีผู้ประสบเหตุมากแค่ไหน) ทั้งนี้อาการ PTSD สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีอาการบาดเจ็บทางร่างกายก็ได้ เช่น เดินไปกับเพื่อนสองคน แล้วเพื่อนถูกคู่อริยิงตายต่อหน้าต่อตา ก็สามารถเกิดอาการได้แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ถูกทำร้ายแต่อย่างใด
ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญกับภาวะนี้เป็นอย่างมาก โดยผู้ที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงเกือบทุกรายจะถูกส่งไปให้จิตแพทย์ตรวจประเมินร่วมด้วยเสมอ สำหรับในประเทศไทย คงต้องบอกว่าประชาชนส่วนใหญ่แทบจะไม่รู้จักภาวะ PTSD เลย แม้ว่าจะมีการพูดถึงภาวะนี้มากขึ้นอยู่ช่วงหนึ่งภายหลังจากเหตุการณ์สึนามิก็ตาม ทำให้ผู้ที่มีอาการส่วนใหญ่มักไม่ได้มาพบแพทย์ และต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการนี้แบบตามมีตามเกิด
พบได้บ่อยแค่ไหน
โดยเฉลี่ยพบคนที่มีภาวะนี้ได้ 1-3% แต่ความชุกจะค่อนข้างแตกต่างกันไปตามสถานการณ์และประเทศ เช่น ช่วงสงครามจะพบได้เยอะมาก หรือในประเทศที่มีอุบัติเหตุสูง ความปลอดภัยในชีวิตต่ำ ก็จะพบสูงกว่าประเทศที่ค่อนข้างปลอดภัย
สำหรับในกลุ่มคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงจะพบความชุกของภาวะ PTSD ได้ดังนี้
- ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุรุนแรง (เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์) พบในผู้ชาย 25% ผู้หญิง 14%
- ผู้ที่ถูกทำร้ายด้วยอาวุธ (เช่น ถูกแทง ถูกยิง) พบในผู้ชาย 19%
- ผู้ที่ประสบเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรง (เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว) พบได้ 19%
- ผู้หญิงที่ถูกข่มขืน พบได้ 9%
โดยภาวะ PTSD สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบเยอะที่สุดในช่วงวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่ เหตุผลก็เพราะเป็นวัยที่เสี่ยงที่สุดต่อการเกิดอุบัติเหตุและอาชญากรรม
อาการเป็นอย่างไร
อาการของภาวะ PTSD จะแสดงออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
1. การนึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ (reexperienced) หรือเรียกแบบง่ายๆ ว่า เหตุการณ์นั้นตามมาหลอกหลอน โดยการตามมาหลอกหลอนนี้จะแสดงออกได้ในสองรูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่
- ฝันร้าย (nightmares) โดยฝันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น ในผู้ป่วยที่ถูกรถชน ก็อาจจะฝันว่าตัวเองถูกรถชนซ้ำแล้วซ้ำอีก
- เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เหมือนภาพติดตา (flashbacks) อันนี้ใครดูละครหรือภาพยนตร์บ่อยๆ คงนึกออกว่า เวลาที่ตัวละครนึกถึงอะไรสักอย่างแล้วก็มีภาพเหตุการณ์นั้นโผล่ขึ้นมา อาการนี้ก็จะคล้ายๆ แบบนั้น เช่น ผู้ป่วยคนหนึ่งที่รอดจากเหตุการณ์สึนามิบรรยายว่า บางครั้งจะเห็นภาพคลื่นที่ซัดเข้าหาตัวเอง รวมทั้งภาพที่เพื่อนถูกน้ำพัดหายไปต่อหน้า โผล่ขึ้นมาซ้ำๆ
2. มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นั้นหรือสิ่งที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นั้น (avoidance) เป็นพฤติกรรมที่สืบต่อมาจากอาการ reexperienced เพราะการเห็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์จะทำให้นึกถึง หรือเกิด flashbacks มากขึ้นได้ ทำให้ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งของ สถานการณ์ บุคคลหรือสถานที่ที่ทำให้รู้สึกกลัว เช่น ผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุรถชนจำนวนมากจะไม่สามารถขับรถได้อีก หรือในรายที่เป็นมากๆ บางคนถึงกับไม่สามารถเดินข้ามถนนได้เลย หรือบางกรณี อาการอาจแสดงออกด้วยการจำบางส่วนของเหตุการณ์นั้นไม่ได้ (โดยไม่ได้เกี่ยวกับการบาดเจ็บที่สมอง) ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งที่ถูกข่มขืน เมื่อรอดมาได้เธอจำเหตุการณ์ขณะที่ถูกข่มขืนไม่ได้เลย เป็นต้น การที่ผู้ป่วยจำเหตุการณ์ไม่ได้นี้เป็นกลไกทางจิตอย่างหนึ่ง เพื่อปกป้องไม่ให้ต้องเผชิญกับความรู้สึกที่รุนแรงและน่ากลัวนั้น
3. อาการตื่นกลัว (hyperarousal) ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับ ใจสั่น หงุดหงิด โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ ตกใจง่าย สมาธิไม่ดี กลัวอะไรต่างๆ ได้ง่ายกว่าปกติ เช่น บางคนได้ยินเสียงดังก็จะสะดุ้งตกใจทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรือแม้แต่ดูภาพยนตร์ที่มีฉากรุนแรงหรือเสียงดังก็ไม่ได้ เป็นต้น
โดยอาการของโรคมักจะเกิดภายในอาทิตย์แรกหลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรง แต่บางคนอาจเริ่มมีอาการหลังจากเหตุการณ์รุนแรงผ่านไปแล้วหลายเดือนก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีอาการเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษามักจะไม่หาย และอาการมักจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงที่มีความเครียด
ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยที่ประสบเหตุสึนามิคนหนึ่ง เธอเป็นนักศึกษา ไปเที่ยวกับเพื่อนหลายคน ในวันที่เกิดเหตุ ตอนนั้นเธอยืนอยู่ที่ชายหาดกับเพื่อนสองคน เธอเล่าว่า จู่ๆ คลื่นก็ซัดเข้ามาแล้วพัดเอาเพื่อนหายไปต่อหน้าต่อตา เธอเองก็ถูกคลื่นซัดไปด้วย แต่รอดมาได้โดยไม่เป็นอะไร ส่วนเพื่อนที่ไปด้วยเสียชีวิตทั้งหมด
หลังจากกลับมาบ้าน เธอมีอาการนอนไม่หลับ และฝันว่าจมน้ำบ้าง ถูกคลื่นซัดเข้าใส่บ้าง จนสะดุ้งตื่นเกือบทุกคืน ส่วนเวลากลางวัน แม้แต่เวลานั่งเรียน เธอจะเห็นภาพที่คลื่นกำลังโถมเข้าใส่เธอกับเพื่อนซ้ำๆ วันละหลายๆ รอบ จนกลายเป็นคนกลัวน้ำ แค่เห็นสระว่ายน้ำหรือแม่น้ำก็จะกลัวมากจนใจสั่น ตัวสั่น มือเท้าเย็นไปหมด จนไม่สามารถเข้าใกล้ได้ นอกจากนี้เธอยังมีอาการตกใจง่าย ได้ยินเสียงดังก็จะสะดุ้งตกใจทั้งๆ ที่เมื่อก่อนไม่เคยเป็น เรียนหนังสือแย่ลงเพราะไม่มีสมาธิ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่องจนเกรดตก แรกๆ เธอก็ไม่ได้รับการรักษา จนเริ่มมีอาการซึมเศร้าเมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน และเมื่ออาการโรคซึมเศร้ามีความรุนแรงถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตาย จึงมาพบแพทย์
ภายหลังได้รับการรักษาต่อเนื่องกับจิตแพทย์ เธอก็มีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถกลับไปเรียนได้ นอนหลับ ไม่ฝันหรือเห็นภาพซ้ำๆ อีก อาการซึมเศร้าก็หายไป แม้จะไม่กล้าเล่นน้ำทะเลอีก แต่ก็สามารถเดินอยู่ริมหาด หรือนั่งข้างสระว่ายน้ำได้โดยไม่มีอาการใดๆ
อาการของภาวะ PTSD จะแสดงออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
1. การนึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ (reexperienced) หรือเรียกแบบง่ายๆ ว่า เหตุการณ์นั้นตามมาหลอกหลอน โดยการตามมาหลอกหลอนนี้จะแสดงออกได้ในสองรูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่
- ฝันร้าย (nightmares) โดยฝันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น ในผู้ป่วยที่ถูกรถชน ก็อาจจะฝันว่าตัวเองถูกรถชนซ้ำแล้วซ้ำอีก
- เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เหมือนภาพติดตา (flashbacks) อันนี้ใครดูละครหรือภาพยนตร์บ่อยๆ คงนึกออกว่า เวลาที่ตัวละครนึกถึงอะไรสักอย่างแล้วก็มีภาพเหตุการณ์นั้นโผล่ขึ้นมา อาการนี้ก็จะคล้ายๆ แบบนั้น เช่น ผู้ป่วยคนหนึ่งที่รอดจากเหตุการณ์สึนามิบรรยายว่า บางครั้งจะเห็นภาพคลื่นที่ซัดเข้าหาตัวเอง รวมทั้งภาพที่เพื่อนถูกน้ำพัดหายไปต่อหน้า โผล่ขึ้นมาซ้ำๆ
2. มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นั้นหรือสิ่งที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นั้น (avoidance) เป็นพฤติกรรมที่สืบต่อมาจากอาการ reexperienced เพราะการเห็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์จะทำให้นึกถึง หรือเกิด flashbacks มากขึ้นได้ ทำให้ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งของ สถานการณ์ บุคคลหรือสถานที่ที่ทำให้รู้สึกกลัว เช่น ผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุรถชนจำนวนมากจะไม่สามารถขับรถได้อีก หรือในรายที่เป็นมากๆ บางคนถึงกับไม่สามารถเดินข้ามถนนได้เลย หรือบางกรณี อาการอาจแสดงออกด้วยการจำบางส่วนของเหตุการณ์นั้นไม่ได้ (โดยไม่ได้เกี่ยวกับการบาดเจ็บที่สมอง) ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งที่ถูกข่มขืน เมื่อรอดมาได้เธอจำเหตุการณ์ขณะที่ถูกข่มขืนไม่ได้เลย เป็นต้น การที่ผู้ป่วยจำเหตุการณ์ไม่ได้นี้เป็นกลไกทางจิตอย่างหนึ่ง เพื่อปกป้องไม่ให้ต้องเผชิญกับความรู้สึกที่รุนแรงและน่ากลัวนั้น
3. อาการตื่นกลัว (hyperarousal) ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับ ใจสั่น หงุดหงิด โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ ตกใจง่าย สมาธิไม่ดี กลัวอะไรต่างๆ ได้ง่ายกว่าปกติ เช่น บางคนได้ยินเสียงดังก็จะสะดุ้งตกใจทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรือแม้แต่ดูภาพยนตร์ที่มีฉากรุนแรงหรือเสียงดังก็ไม่ได้ เป็นต้น
โดยอาการของโรคมักจะเกิดภายในอาทิตย์แรกหลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรง แต่บางคนอาจเริ่มมีอาการหลังจากเหตุการณ์รุนแรงผ่านไปแล้วหลายเดือนก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีอาการเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษามักจะไม่หาย และอาการมักจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงที่มีความเครียด
ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยที่ประสบเหตุสึนามิคนหนึ่ง เธอเป็นนักศึกษา ไปเที่ยวกับเพื่อนหลายคน ในวันที่เกิดเหตุ ตอนนั้นเธอยืนอยู่ที่ชายหาดกับเพื่อนสองคน เธอเล่าว่า จู่ๆ คลื่นก็ซัดเข้ามาแล้วพัดเอาเพื่อนหายไปต่อหน้าต่อตา เธอเองก็ถูกคลื่นซัดไปด้วย แต่รอดมาได้โดยไม่เป็นอะไร ส่วนเพื่อนที่ไปด้วยเสียชีวิตทั้งหมด
หลังจากกลับมาบ้าน เธอมีอาการนอนไม่หลับ และฝันว่าจมน้ำบ้าง ถูกคลื่นซัดเข้าใส่บ้าง จนสะดุ้งตื่นเกือบทุกคืน ส่วนเวลากลางวัน แม้แต่เวลานั่งเรียน เธอจะเห็นภาพที่คลื่นกำลังโถมเข้าใส่เธอกับเพื่อนซ้ำๆ วันละหลายๆ รอบ จนกลายเป็นคนกลัวน้ำ แค่เห็นสระว่ายน้ำหรือแม่น้ำก็จะกลัวมากจนใจสั่น ตัวสั่น มือเท้าเย็นไปหมด จนไม่สามารถเข้าใกล้ได้ นอกจากนี้เธอยังมีอาการตกใจง่าย ได้ยินเสียงดังก็จะสะดุ้งตกใจทั้งๆ ที่เมื่อก่อนไม่เคยเป็น เรียนหนังสือแย่ลงเพราะไม่มีสมาธิ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่องจนเกรดตก แรกๆ เธอก็ไม่ได้รับการรักษา จนเริ่มมีอาการซึมเศร้าเมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน และเมื่ออาการโรคซึมเศร้ามีความรุนแรงถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตาย จึงมาพบแพทย์
ภายหลังได้รับการรักษาต่อเนื่องกับจิตแพทย์ เธอก็มีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถกลับไปเรียนได้ นอนหลับ ไม่ฝันหรือเห็นภาพซ้ำๆ อีก อาการซึมเศร้าก็หายไป แม้จะไม่กล้าเล่นน้ำทะเลอีก แต่ก็สามารถเดินอยู่ริมหาด หรือนั่งข้างสระว่ายน้ำได้โดยไม่มีอาการใดๆ
ความผิดปกติที่พบร่วม
ผู้ที่มีอาการ PTSD ควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะนอกจากจะเกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น เรียนหนังสือไม่ได้ ทำงานแย่ลง ไม่กล้าขับรถ ไม่กล้าออกจากบ้านแล้ว หากไม่รักษาผู้ป่วยมักมีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลตามมาด้วย โดยพบสูงถึง 50% ทีเดียว และจากการศึกษายังพบว่า ผู้ที่มีอาการ PTSD พยายามฆ่าตัวตายมากกว่าคนปกติถึง 14 เท่า
ผู้ที่มีอาการ PTSD ควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะนอกจากจะเกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น เรียนหนังสือไม่ได้ ทำงานแย่ลง ไม่กล้าขับรถ ไม่กล้าออกจากบ้านแล้ว หากไม่รักษาผู้ป่วยมักมีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลตามมาด้วย โดยพบสูงถึง 50% ทีเดียว และจากการศึกษายังพบว่า ผู้ที่มีอาการ PTSD พยายามฆ่าตัวตายมากกว่าคนปกติถึง 14 เท่า
การรักษา
- สำหรับผู้ป่วย สิ่งสำคัญคือให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะยิ่งรักษาเร็วยิ่งมีโอกาสหายเร็ว และได้รับผลการรักษาดี
- สำหรับบุคคลใกล้ชิด การรับฟัง ปลอบใจและให้กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังเกิดเหตุการณ์ไม่นาน
- การรักษาด้วยยา ยาหลักที่ใช้รักษาคือ ยาต้านเศร้า (antidepressant) ซึ่งจะช่วยลดอาการต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะกลุ่มอาการตื่นกลัว แต่บางครั้งที่ผู้ป่วยมีอาการกลัวมากหรือนอนไม่หลับ แพทย์อาจให้ยาคลายกังวลร่วมด้วย (anxiolytic)
- การรักษาโดยการทำจิตบำบัด ในบัจจุบันพบว่าการรักษาด้วยวิธีปรับความนึกคิด (cognitive behavior therapy หรือ CBT) เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมาก
- สำหรับผู้ป่วย สิ่งสำคัญคือให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะยิ่งรักษาเร็วยิ่งมีโอกาสหายเร็ว และได้รับผลการรักษาดี
- สำหรับบุคคลใกล้ชิด การรับฟัง ปลอบใจและให้กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังเกิดเหตุการณ์ไม่นาน
- การรักษาด้วยยา ยาหลักที่ใช้รักษาคือ ยาต้านเศร้า (antidepressant) ซึ่งจะช่วยลดอาการต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะกลุ่มอาการตื่นกลัว แต่บางครั้งที่ผู้ป่วยมีอาการกลัวมากหรือนอนไม่หลับ แพทย์อาจให้ยาคลายกังวลร่วมด้วย (anxiolytic)
- การรักษาโดยการทำจิตบำบัด ในบัจจุบันพบว่าการรักษาด้วยวิธีปรับความนึกคิด (cognitive behavior therapy หรือ CBT) เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมาก
อ้างอิงและหนังสือสำหรับอ่านประกอบ
- ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจราจร จาก: “อุบัติเหตุจราจรทางบกและมูลค่าความเสียหาย ทั่วราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2541 – 2554.” http://social.nesdb.go.th/SocialStat/
- ข้อมูลสถิติจำนวนผู้หญิงถูกทำร้าย จาก: “ปี 2554 ทุก 1 ชั่วโมง มีผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกาย 3 คน”.http://news.voicetv.co.th/infographic/33965.html
- มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2540.
- บุรณี กาญจนถวัลย์, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. พฤติกรรมมนุษย์และความผิดปกติทางจิต, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัย, 2547
- Sadock BJ, Sadock VA. Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry. 10th ed. Philadelphia: Wolter Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2007
- ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจราจร จาก: “อุบัติเหตุจราจรทางบกและมูลค่าความเสียหาย ทั่วราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2541 – 2554.” http://social.nesdb.go.th/SocialStat/
- ข้อมูลสถิติจำนวนผู้หญิงถูกทำร้าย จาก: “ปี 2554 ทุก 1 ชั่วโมง มีผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกาย 3 คน”.http://news.voicetv.co.th/infographic/33965.html
- มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2540.
- บุรณี กาญจนถวัลย์, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. พฤติกรรมมนุษย์และความผิดปกติทางจิต, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัย, 2547
- Sadock BJ, Sadock VA. Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry. 10th ed. Philadelphia: Wolter Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2007
No comments:
Post a Comment